วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติจังหวัดเชียงใหม่























ประวัติศาสตร์

พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญามังราย พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง
เมืองเชียงใหม่สร้างขึ้นโดยพญามังราย ในปี พ.ศ. 1839 ในชื่อ "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" และใช้เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนา ในอดีต เชียงใหม่มีฐานะเป็นราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังรายตั้งแต่ พ.ศ. 1839-2101 แต่ต่อมาเชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนองในปี พ.ศ. 2101 และได้ถูกปกครองโดยพม่ามานานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ โดยให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของสยาม และราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์หรือราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่าง ๆ สืบต่อมาและเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นรัตนติงสาอภินวบุรีเชียงใหม่และในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช และมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพหรือมณฑลลาวเฉียง ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน
การปกครอง
จังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 24 อำเภอ (และอำเภอกัลยานิวัฒนากำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการจัดตั้ง[2][3]) 204 ตำบล 2,066 หมู่บ้าน
อำเภอ
อำเภอเมืองเชียงใหม่
อำเภอจอมทอง
อำเภอแม่แจ่ม
อำเภอเชียงดาว
อำเภอดอยสะเก็ด
อำเภอแม่แตง
อำเภอแม่ริม
อำเภอสะเมิง
อำเภอฝาง
อำเภอแม่อาย
อำเภอพร้าว
อำเภอสันป่าตอง
อำเภอสันกำแพง
อำเภอสันทราย
อำเภอหางดง
อำเภอฮอด
อำเภอดอยเต่า
อำเภออมก๋อย
อำเภอสารภี
อำเภอเวียงแหง
อำเภอไชยปราการ
อำเภอแม่วาง
อำเภอแม่ออน
อำเภอดอยหล่อ
อำเภอกัลยาณิวัฒนา*

การปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) มีจำนวน 211 อปท. แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 2 เทศบาลเมือง 54 เทศบาลตำบล 153 องค์การบริหารส่วนตำบล มีรายชื่อดังนี้
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
อำเภอเมืองเชียงใหม่
เทศบาลนครเชียงใหม่
เทศบาลตำบลช้างเผือก
เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง
เทศบาลตำบลแม่เหียะ
เทศบาลตำบลท่าศาลา
เทศบาลตำบลสุเทพ
เทศบาลตำบลป่าแดด
เทศบาลตำบลหนองหอย
เทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม
อำเภอจอมทอง
เทศบาลตำบลจอมทอง
อำเภอแม่แจ่ม
เทศบาลตำบลแม่แจ่ม
อำเภอเชียงดาว
เทศบาลตำบลเชียงดาว
เทศบาลตำบลเมืองงาย
เทศบาลตำบลเมืองนะ
เทศบาลตำบลพระธาตุปู่ก่ำ
เทศบาลตำบลปิงโค้ง
เทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง
อำเภอดอยสะเก็ด
เทศบาลตำบลดอยสะเก็ด
เทศบาลตำบลสง่าบ้าน
เทศบาลตำบลสันปูเลย
เทศบาลตำบลลวงเหนือ
เทศบาลตำบลแม่โป่ง
เทศบาลตำบลเชิงดอย
อำเภอแม่แตง
เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา
เทศบาลตำบลสันมหาพน
อำเภอแม่ริม
เทศบาลตำบลแม่ริม
อำเภอสะเมิง
เทศบาลตำบลสะเมิงใต้
อำเภอฝาง
เทศบาลตำบลบ้านแม่ข่า
เทศบาลตำบลเวียงฝาง
อำเภอแม่อาย
เทศบาลตำบลแม่อาย
อำเภอพร้าว
เทศบาลตำบลเวียงพร้าว
เทศบาลตำบลแม่ปั๋ง
อำเภอสันป่าตอง
เทศบาลตำบลบ้านกลาง
เทศบาลตำบลสันป่าตอง
อำเภอสันกำแพง
เทศบาลตำบลต้นเปา
เทศบาลตำบลสันกำแพง
เทศบาลตำบลแม่ปูคา
อำเภอสันทราย
เทศบาลเมืองแม่โจ้
เทศบาลตำบลสันทรายหลวง
เทศบาลตำบลสันพระเนตร
เทศบาลตำบลสันนาเม็ง
เทศบาลตำบลหนองจ๊อม
เทศบาลตำบลแม่แฝก
เทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัว
เทศบาลตำบลป่าไผ่
อำเภอหางดง
เทศบาลตำบลหนองตองพัฒนา
เทศบาลตำบลหางดง
อำเภอฮอด
เทศบาลตำบลท่าข้าม
เทศบาลตำบลบ่อหลวง
อำเภอดอยเต่า
เทศบาลตำบลท่าเดื่อ
อำเภออมก๋อย
เทศบาลตำบลอมก๋อย
อำเภอสารภี
เทศบาลตำบลยางเนิ้ง
เทศบาลตำบลสารภี
เทศบาลตำบลชมภู
เทศบาลตำบลหนองผึ้ง
อำเภอไชยปราการ
เทศบาลตำบลไชยปราการ
อำเภอแม่วาง
เทศบาลตำบลแม่วาง
การเลือกตั้ง
จังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 4 เขต มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 11 คน โดยแต่ละเขตแบ่งออกดังนี้
เขต 1 ประกอบด้วยอำเภอเมืองเชียงใหม่ หางดง สารภี และสันกำแพง
เขต 2 ประกอบด้วยอำเภอพร้าว แม่ออน ดอยสะเก็ด สันทราย แม่ริม สะเมิง แม่วาง และสันป่าตอง
เขต 3 ประกอบด้วยอำเภอแม่อาย ฝาง ไชยปราการ เชียงดาว เวียงแหง และแม่แตง
เขต 4 ประกอบด้วยอำเภอแม่แจ่ม จอมทอง ดอยหล่อ ฮอด ดอยเต่า และอมก๋อย
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอกทองกวาว ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด คือ รูปช้างเผือกในเรือนแก้ว หมายถึงความสำคัญ 2 ประการของจังหวัด ซึ่งช้างเผือก คือ ช้างที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่นำมาทูลเกล้าถวายแด่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) และได้ขึ้นระวางเป็นช้างเผือกเอกในรัชกาล ส่วน เรือนแก้ว คือดินแดนที่พุทธศาสนารุ่งเรืองสูงสุด
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ทองกวาว (ชื่อวิทยาศาสตร์:Butea monosperma)
อักษรย่อ: ชม
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง
จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร) ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 320 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 750 กิโลเมตรโดยทางรถไฟ และรถยนต์ประมาณ 720 กิโลเมตรตามแนวทางหลวงแผ่นดินสายเหนือ
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ รัฐฉานของสหภาพพม่า โดยมีดอยผีปันน้ำของดอยคำ ดอยปกกลา ดอยหลักแต่ง ดอยถ้ำป่อง ดอยถ้วย ดอยผาวอก และดอยอ่างขางอันเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศใต้ อำเภอสามเงา อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง (จังหวัดตาก) มีร่องน้ำแม่ตื่นและดอยผีปันน้ำ ดอยเรี่ยม ดอยหลวงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันออก อำเภอแม่จัน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า (จังหวัดเชียงราย) อำเภอเมืองปาน อำเภอเมืองลำปาง (จังหวัดลำปาง) อำเภอบ้านธิ อำเภอเมืองลำพูน อำเภอป่าซาง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอลี้ (จังหวัดลำพูน) ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงรายและลำปางมีร่องน้ำลึกของแม่น้ำกก สันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา และดอยแม่โตเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูง และร่องน้ำแม่ปิงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันตก อำเภอปาย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) มีดอยผีปันน้ำ ดอยกิ่วแดง ดอยแปรเมือง ดอยแม่ยะ ดอยอังเกตุ ดอยแม่สุรินทร์ ดอยขุนยวม ดอยหลวง และร่องแม่ริด แม่ออย และดอยผีปันน้ำดอยขุนแม่ตื่นเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
จังหวัดเชียงใหม่มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าเพียงประเทศเดียว และมีพื้นที่ติดต่อใน 5 อำเภอได้แก่
อำเภอแม่อาย: 4 ตำบลได้แก่ ตำบลแม่อาย, ตำบลมะลิกา, ตำบลแม่สาว, ตำบลท่าตอน เมืองที่ติดต่อคือ เมืองยอน รัฐฉาน
อำเภอฝาง: 2 ตำบลได้แก่ ตำบลม่อนปิ่น และตำบลแม่งอน เมืองที่ติดต่อคือ บ้านโป่งป่าแขม เมืองต่วน รัฐฉาน
อำเภอเชียงดาว: 1 ตำบลได้แก่ ตำบลเมืองนะ เมืองที่ติดต่อคือ บ้านน้ำยุม เมืองต่วน รัฐตองยี
อำเภอเวียงแหง: 3 ตำบลได้แก่ ตำบลเปียงหลวง, ตำบลเมืองแหง และตำบลแสนไห เมืองที่ติดต่อคือ บ้านบางใหม่สูง บ้านปางเสือเฒ่า บ้านกองเฮือบิน เมืองต่วน รัฐตองยี
อำเภอไชยปราการ: 1 ตำบลได้แก่ ตำบลหนองบัว เมืองที่ติดต่อคือ บ้านโป่งป่าแขม เมืองต่วน รัฐฉาน
รวมระยะทางทั้งสิ้น 227 กิโลเมตร พื้นที่เขตแดนส่วนใหญ่เป็นป่าเขา ทำให้ไม่สามารถปักหลักเขตแดนได้อย่างชัดเจน จึงเกิดปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างประเทศบ่อยครั้ง

ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขา
จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 12,566,911 ไร่ มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ และเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูงประมาณ 2,575 เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก สูง 2,285 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว สูง 2,170 เมตร ดอยสุเทพ สูง 1,601 เมตร สภาพพื้นที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
พื้นที่ภูเขา ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือ และทิศตะวันตกของจังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80% ของพื้นที่จังหวัด เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก
พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขา กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง ลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตร
ภูมิอากาศ
เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100-1,200 มิลลิเมตร สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
ทรัพยากร
ทรัพยากรป่าไม้
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
จังหวัดเชียงใหม่มีป่าไม้หลายประเภท ประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเต็งรังผสมป่าสนเขา และป่าแดง เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ ประกอบด้วย ป่าธรรมชาติ สวนป่า และป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติ โดยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 11,694,133 ไร่ (พื้นที่ป่าตามกฎหมาย) คิดเป็นร้อยละ 69.93 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด แบ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 25 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 13 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง อุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
อุทยานแห่งชาติออบหลวง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา
อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้
อุทยานแห่งชาติขุนขาน
อุทยานแห่งชาติเชียงดาว
อุทยานแห่งชาติแม่โถ
อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง
อุทยานแห่งชาติออบขาน
นอกจากนี้จังหวัดเชียงใหม่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้เกิดขึ้นเป็นประจำ สาเหตุสำคัญเช่น การลักลอบตัดไม้ การบุกรุกเพื่อทำการเกษร และไฟป่า
ทรัพยากรสัตว์ป่า
พื้นที่ป่าในจังหวัด มีความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ป่าสำคัญที่พบ ได้แก่ เลียงผา หมูป่า หมาจิ้งจอก เสือดาว อีเห็น ชะมด พังพอน ชะนี ลิง เม่น แมวป่า หมูหริ่ง กระต่ายป่า ตะกวด กิ้งก่า งู ตุ๊กแก ด้วง บึ้ง ไก่ป่า นกขมิ้น นกกระรางหัวขวาน นกกระขาบทุ่ง นกขุนทอง นกขุนแผน นกบั่งรอก นกกางเขน นกกาเหว่า นกเขียวคราม นกกระติ๊ต นกกระจิบ นกกระจาบ นกปรอด นกระวังไพร นกแซงแซว นกโพระดก นกนางแอ่น นกคุ่ม นกเขาเขียว นกเขาใหญ่ นกเขาขวาน นกเอี้ยง นกกระปูด เป็นต้น
ทรัพยากรน้ำ
แม่น้ำกก ในอำเภอแม่อาย
จังหวัดเชียงใหม่มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำปิง และยังมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง และยังแบ่งตามพื้นที่ลุ่มน้ำดังนี้
ลุ่มน้ำปิงตอนบน เป็นลุ่มน้ำที่สำคัญที่สุดในภาคเหนือตอนบน เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำปิง มีพื้นที่ 25,355.9 ตร.กม. สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความลาดชันสูง วางตัวแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่เสี่ยงต่อแผ่นดินถล่มและการชะล้างพังทลายของดินสูง ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบสะวันนา คือ มีฤดูฝนสลับกับฤดูแล้งอย่างชัดเจน และยังมีลุ่มน้ำย่อยอีก 14 ลุ่มน้ำย่อย แม่น้ำที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำปิง แม่แตง แม่กวง แม่งัด แม่แจ่ม แม่ขาน แม่ตื่น
ลุ่มน้ำกก มีแม่น้ำกกเป็นแม่น้ำสายหลัก มีต้นกำเนิดจากภูเขาในประเทศพม่า ไหลผ่านเมืองกก เมืองสาด ประเทศพม่า เข้าเขตประเทศไทยที่ช่องน้ำกก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไหลเข้าสู่จังหวัดเชียงราย ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่ 2,773 ตร.กม.
ลุ่มน้ำฝาง มีแม่น้ำฝางเป็นแม่น้ำสายหลัก ซึ่งมีต้นกำเนิดจากดอยขุนห้วยฝางและดอยหัวโททางตอนใต้ของอำเภอไชยปราการ ไหลลงสู่แม่น้ำกก มีความยาวลำน้ำประมาณ 70 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ 1,948.5 ตร.กม. ในอำเภอไชยปราการ ฝาง และแม่อาย
ทรัพยากรธรณี
จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่สำคัญของประเทศ ทำให้ได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้ง โดยครั้งที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ขนาด 5.1 ริกเตอร์ มีจุดศูนย์กลางในอำเภอแม่ริม ทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยในบริเวณอำเภอแม่ริมและอำเภอข้างเคียง ส่วนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรณี มีการผลิตแร่ที่สำคัญ 8 ชนิด ได้แก่ ถ่านหิน เฟลด์สปาร์ แมงกานีส ซีไลท์ ดีบุก ดินขาว ฟลูออไรด์ และแร่หินอุตสาหกรรม และจังหวัดเชียงใหม่ยังมีแหล่งทรัพยากรธรณีที่สำคัญ เช่น แหล่งปิโตรเลียม อำเภอฝาง สภาพทางธรณีวิทยาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ บ่อน้ำพุร้อน อำเภอสันกำแพงและอำเภอฝาง โป่งเดือด อำเภอแม่แตง บ่อน้ำแร่ธรรมชาติ อำเภอแม่ริม เป็นต้น

ประชากร
จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรทั้งสิ้น 1,666,024 คน แยกเป็นชาย 818,958 คน หญิง 851,066 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 83 คน/ตร.กม. (ข้อมูลวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552) ส่วนประชาชนบนพื้นที่สูง มีจำนวนทั้งสิ้น 312,447 คน กระจายอยู่ใน 20 อำเภอ มีกลุ่มชนเผ่าต่างๆ รวม 13 ชนเผ่า แบ่งเป็นชาวเขา 7 เผ่า ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน (เย้า) อาข่า (อีก้อ) ลาหู่ (มูเซอ) ลีซอ (ลีซู) และลัวะ จำนวน 229,382 คน เป็นชนกลุ่มน้อย 5 กลุ่ม ได้แก่ ปะหล่อง ไทใหญ่ ไทลื้อ จีนฮ่อ และอื่นๆ รวมจำนวน 34,022 คน
ภาษา
ตัวอักษรล้านนา (คำเมือง)
ภาษาราชการที่ใช้ในจังหวัดเชียงใหม่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และมีภาษาท้องถิ่นซึ่งเรียกว่า ภาษาคำเมือง ซึ่งแต่ละท้องถิ่นของทางภาคเหนือ มีคุณลักษณะของภาษาที่คล้ายๆกัน จะแตกต่างกันเฉพาะ สำเนียงและศัพท์บางคำ แต่ละท้องถิ่นก็จะมีความไพเราะ ต่างกันไปนักท่องเที่ยวที่มาจากถิ่นอื่น ล้วนชื่นชมว่า "ภาษาคำเมืองนั้น มีความไพเราะ นุ่มนวล ยิ่งนักแล"
ศาสนา
ประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ นับถือศาสนาพุทธ 91.80% ศาสนาคริสต์ 5.60% ศาสนาอิสลาม 1.17% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซิกข์ 0.02% และอื่นๆ 1.14% โดยมีสำนักสงฆ์ 471 แห่ง โบสถ์คริสต์ 356 แห่ง มัสยิด 13 แห่ง และโบสถ์พราหมณ์ 3 แห่ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น